manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
 
 
 

อ.ทอง ธรรมดา เกษตรกรเจ้าของรางวัลสำนึกรักบ้านเกิด ได้แนะนำถึงวิธีการปลูกมะนาวนอกฤดู โดยให้ละเอียดว่า สิ่งที่มีผลไปกระตุ้นทำให้มะนาวออกผลก็ คือ ธาตุไนโตรเจน ซึ่งธาตุนี้ก็จะมีอยู่ในน้ำฝน ในช่วงเดือนตุลาคม –พฤศจิกายน จะเป็นช่วงฤดูฝน เมื่อต้นมะนาวได้รับน้ำฝนที่มีธาตุไนโตรเจนในช่วงนี้จะส่งผลให้มะนาวออกดอกออกผลทำให้มะนาวที่ปลูกกันทั่วประเทศนั้นออกผลผลิตพร้อมๆกันทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาดพี่น้องเกษตรกรขายได้ราคาต่ำ อ.ทอง จึงได้แนะนำเทคนิคแก่พี่น้องเกษตรกรเพื่อขายผลผลิตมะนาวให้ได้ในราคาสูง โดยวิธีการบังคับให้มะนาวออกนอกฤดู คือ ในช่วงฤดูฝนเกษตรกรต้องดูแลมะนาว ไม่ให้ต้นมะนาวที่ปลูกไว้ในบ่อซีเมนต์ถูกน้ำฝน เพียงแค่นำแผ่นพลาสติกใสมาคลุมไว้ที่ปากบ่อซีเมนต์ แล้วรัดด้วยเชือกปอฟางให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนมาถูกต้นมะนาวและดินปลูกที่อยู่ในวงบ่อซีเมนต์ งดให้น้ำและปุ๋ย วิธีการนี้เรียกว่า ทำให้มะนาวเครียด คลุมไว้จนกว่าใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยวมีสีเหลือง จากนั้นนำแผ่นพลาสติกใสออก รดน้ำต่อเนื่อง 7-10 วัน มะนาวก็เริ่มออกดอก สามารถเก็บผลผลิตที่ออกนอกฤดูได้ ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน ก็จะทำให้มะนาวมีราคาสูงส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

++ อุปกรณ์ที่ต้องตรียมในการปลูก ++

1.วงบ่อซีเมนต์ ควรใช้บ่อซีเมนต์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 - 100 ซม. สูง 40 - 60 ซม. ที่ด้านล่างหรือก้นบ่อ ควรมีฝาซีเมนต์วงกลมขนาด 80-90 ซม. รองรับอยู่ด้านล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้รากมะนาวหยั่งลงดินนอกก้นบ่อ บังคับให้ออกผลนอกฤดูได้ยาก

2. แผ่นพลาสติกใส ไว้คลุมปากบ่อ เพื่อบังคับออกนอกฤดู

3.เชือกฟาง ไว้มัดแผ่นพลาสติกใสให้ติดกับบ่อซีเมนต์

4.ดินปลูก ใช้ดินร่วนผสม ปุ๋ยหมักในอัตรา 3 ต่อ 2 หรือดินร่วนผสมปุ๋ยคอกในอัตรา 3 ต่อ 1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี ใส่ดินที่ผสมแล้วลงในวงบ่อให้เต็มถึงขอบบ่อโดยให้ดินแน่นพอควรแล้วพูนดินเป็นรูปหลังเต่าสูงประมาณ 6 – 8 นิ้ว

วิธีการปลูก :

นำต้นพันธุ์มะนาวจากต้นกิ่งตอนต้นปักชำ หรือต้นต่อยอดที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมาปลูกตรงกลางวงบ่อ โดยขุดหลุมเล็กน้อย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 100-150 กรัมต่อหลุม ใช้มีดกรีดก้นถุงพลาสติกสีดำโดยรอบแล้วนำต้นมะนาวไปวางในหลุม กลบดินเล็กน้อย ใช้มีดกรีดถุงพลาสติกที่เหลือออก กลบดินแล้วกดดินให้แน่น ใช้ไม้ไผ่ปักหลัก เพื่อกันลมแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การให้ปุ๋ย :

หลังจากมะนาวเริ่มติดดอกในช่วงแรกยังไม่ต้องให้ปุ๋ย ให้รดน้ำเลี้ยงไว้รอจนกว่าดอกจะโตเท่าเมล็ดสาคู จึงค่อยเติมปุ๋ยสูตร 16-8-8 หรือ สูตร 25-7-7 ลงไป ในอัตรา 100 กรัมต่อต้น ก่อนเก็บผลผลิต 1 เดือน ไม่ต้องให้ปุ๋ย ให้น้ำอย่างเดียวเพราะการให้ปุ๋ยที่ผ่านมาต้นมะนาวได้ธาตุอาหารมากเพียงพอแล้ว

                             อาการขาดธาตุอาหารของมะนาว

     
     

 

 ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช
          
พืชมีความต้องการธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชจะมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, ออกซิเจน, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, แคลเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม และคลอรีน โดยธาตุคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชได้จากน้ำและอากาศ ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุ แบ่งออกเป็นธาตุหลัก 6 ธาตุ และธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ดังนี้
  
        
ธาตุอาหารหลัก มีอยู่ 3 ธาตุ และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพืชต้องการใช้ในปริมาณที่มากคือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม
       
ธาตุอาหารรอง มีอยู่ 3 ธาตุ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชรองลงมาจากธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม, กำมะถัน, แคลเซียม (สำหรับมะนาว ต้องการแมกนีเซียมมากพอๆกับต้องการโปแตสเซียมเลย)
       
ธาตุอาหารเสริม  มีอยู่ 7 ธาตุ พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อย แต่พืชจะขาดธาตุเหล่านี้ไม่ได้เช่นกันเนื่องจากมีความสัมพันธ์ในการใช้ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองของพืช คือ เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม และคลอรีน

* หมายเหตุ :  ปัจจุบันมีการค้นพบว่าธาตุอาหารรองของพืชเพิ่มขึ้นมาอีกชนิดหนึ่งคือ นิเกิ้ล ซึ่งเป็นธาตุใหม่ที่มีผลการวิจัยจากสถาบัน Agricultural Research Service Plant, Soil and Nutrition Laboratory in Ithaca ในนิวยอร์ค ว่า นิเกิ้ล เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อระบบเอนไซม์ ที่มีผลต่อการปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ โดยนิเกิ้ลยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กของพืชให้มีประสิทธิภาพ  โดยพืชจะมีการสะสมนิเกิ้ลไว้ในเมล็ดเพื่อประโยชน์ในการงอก หากพืชมีการสะสมของปริมาณนิเกิ้ลไว้อย่างเพียงพอจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดในพืชนั้นๆ สูงขึ้นด้วย

                                ปริมาณของธาตุอาหารแต่ละชนิด ในค่า pH ของสารละลายแต่ละระดับ
                                                     (ช่วงที่เหมะสมในการปลูกพืชคือ 5.5 - 6.8)
 
                       

ความสำคัญของธาตุอาหารพืชแต่ละชนิด
ธาตุไนโตรเจน
           ช่วยทำให้พืชตัวตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ช่วยเสริมใบและลำต้นให้มีสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นพืชอาหาร เช่น ข้าวหรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องควบคุมการออกดอกออกผลของพืช ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด
กรณีที่พืชขาดธาตุไนโตรเจน
1. ใบจะเหลืองผิดปกติ โดยเริ่มจากใบล่างขยายไปสู่ยอดใบ
2. ลำต้นจะผอม, กิ่งก้านลีบเล็ก และมีใบน้อย
3. พืชบางชนิดจะมีลำต้นสีเหลืองหรืออาจมีสีชมพูปนด้วย
4. ใบพืชที่มีสีเหลืองปลายใบและขอบใบจะเริ่มแห้งแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ จนใบร่วงจากลำต้น
5. พืชจะไม่เติบโตหรือโตช้ามาก

ธาตุฟอสฟอรัส
           ทำหน้าที่ช่วยให้รากดึงดูดโปแตสเซียมเข้ามาใช้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น, ช่วยแก้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป, ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากฝอยและรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต, ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วยในการออกดอก และสร้างเมล็ดของพืช, เพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี, ทำให้ลำต้นของพืชจำพวกข้างแข็งขึ้นไม่ล้มหรือหักง่าย


กรณีที่พืชขาดธาตุฟอสฟอรัส
1. พืชชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็งแต่ว่าจะเปราะและหักง่าย
2. รากจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายช้ากว่าที่ควร ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ บางครั้งจะหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย

ธาตุโปแตสเซียม
          ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากดูดน้ำได้ดีขึ้น, ช่วยในการสร้างเนื้อของผลไม้ให้มีคุณภาพดี, ทำให้พืชมีคามต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ, ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ, ช่วยป้องกันผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพืช เนื่องจากการได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากเกินไป, ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืชผักและผลไม้ โดยทำให้พืชมีสีสัน ขนาด ความหวาน และคงทนต่อสภาวะแวดล้อมได้
กรณีที่พืชขาดธาตุโปแตสเซียม
1. ขอบใบเหลืองและกลายเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มต้นจากปลายใบเข้าสู่กลางใบ ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะแห้งเหี่ยว และมักจะเกิดจากใบล่างก่อนแล้วค่อยๆ ลามขึ้นไปข้างบน พืชที่เห็นอาการขาดธาตุโปแตสเซียมชัดเจนคือพืชจำพวก ข้าวโพด, มัน
2. ทำให้ผลลิตตกต่ำ พืชจำพวกธัญพืชจะมีเมล็ดลีบ น้ำหนักเบา พืชหัวจะมีแป้งน้อย ฝักจะเล็กรูปร่างผิดปกติ  พืชพวกใบยาสูบจะมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยา กลิ่นไม่ดี
 
ธาตุแคลเซียม
        เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืช ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป
       
อาการของพืชที่ขาดแคลเซียม จะพบมากในบริเวณยอด และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตาย และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้วๆ ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือฉีดพ่นธาตุอาหารแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อให้พืชติดผลง่ายขึ้น และทำให้ขั้วดอกแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย

ธาตุกำมะถัน
          กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช
          พืชที่ขาดกำมะถันจะมีเสียเขียวอ่อน หรือเหลืองคล้าย ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก อาการขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุไนโตรเจน คือจะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจน จะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน
         
ดินที่มักพบเสมอว่าขาดธาตุกำมะถันคือ ดินทราย ซึ่งมีอินทรียวัตถุน้อย การเพิ่มกำมะถันในดิน นอกจากจะมีการใส่กำมะถันผงโดยตรงแล้ว การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดธาตุกำมะถันในดินได้เช่นกัน แต่ข้อควรระวังในการใส่กำมะถันก็คืน หากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรดได้ หรืออาจฉีดพ่นธาตุอาหารรองเสริมทางใบก็ช่วยลดอาการขาดธาตุนี้ได้เช่นกัน

ธาตุแมกนีเซียม
          เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียว  ทั้งที่ใบและส่วนอื่นๆ ของพืชซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช
         
อาการขาดแมกนีเซียมจะสังเกตได้จากใบพืช ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบ ถ้าหากอาการขาดรุ่นแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน การขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น เพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึงดูดมาใช้ได้ และการที่มีปริมาณโปแตสเซียมสะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ
          การแก้ไข สามารถทำได้โดยการปรับปรุงสภาพดิน ความเป็นกรด ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืช และมีการใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมที่พอเหมาะ ที่สำคัญก็คือ การฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริม ซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที

ธาตุเหล็ก
         ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีนในพืช  ช่วยกระตุ้นให้การหายใจและการปรุงอาหารของพืชให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์
         
อาการขาดธาตุเหล็กจะแสดงออกทั้งทางใบและทางผล อาการเริ่มแรกจะสังเกตพบว่าที่ใบอ่อนโดยเฉพาะบริเวณเส้นใบจะมีสีเขียวปกติ  แต่พื้นใบจะเริ่มมีสีเหลืองซีด ส่วนใบแก่ยังคงมีอาการปกติ ระยะต่อมาจะเหลืองซีดทั้งใบ ขนาดใบจะเล็กลงกว่าปกติ กิ่งแห้งตาย ส่วนอาการที่เกิดขึ้นกับไม้ผล คือผลผลิตจะลดลง ขนาดของผลเล็กและผิวไม่สวย  การขาดธาตุเหล็กยังมีผลทำให้ยอดอ่อนเจริญเติบโตได้ช้ากว่าปกติ
          ธาตุเหล็กที่พืชจะนำใช้ได้ต้องมีค่า pH ของดินหรือน้ำอยู่ระหว่าง 5.5 - 5.6 แต่ถ้าค่า pH ต่ำกว่านี้ จะทำให้ปริมาณของธาตุเหล็กมีมากเกินไปจนก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชได้ ธาตุเหล็กจะไปตรึงธาตุฟอสฟอรัสไว้จนพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ การแก้ไขด้วยการฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดธาตุเหล็กได้ หรือเลือกใช้ธาตุเหล็กที่มีความคงทนต่อสภาพ pH ได้สูงๆ คือเหล็ก Fe-EDDHA ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเหล็กทั่วไป
 
ธาตุทองแดง
          หน้าที่ของธาตุทองแดง มีผลต่อพืชโดยอ้อม ในการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยเพิ่มโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ และป้องกันการถูกทำลายส่วนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช ซึ่งมีผลต่อการปรุงอาหารยังผลต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล  ธาตุทองแดงยังช่วยให้ต้นพืชสามารถดูดเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในดินนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
       
อาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดงใบพืชจะมีสีเขียวจัดผิดปกติ แล้วต่อมาจะค่อยๆ เหลืองลงโดยแสดงอาการจะแสดงที่ยอด เรื่อยลงมาจนถึงโคน อาการขาดธาตุทองแดงพบมากในเขตดินเปรี้ยว การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอาจช่วยได้ หรือฉีดพ่นด้วยธาตุอาหารเสริม (ที่มีทองแดงประกอบ) ทางใบก็จะช่วยลดอาการนี้ได้

ธาตุสังกะสี
          สังกะสีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช กล่าวคือ พืชที่ขาดธาตุสังกะสีจะให้ปริมาณฮอร์โมน IAA ในตายอดลดลง ทำให้ตายอดและข้อปล้องไม่ขยาย ใบออกมาซ้อนๆ กัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลายชนิดในการสร้างอาหารและสังเคราะห์แสง จึงมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช
          การแก้ไขที่และและให้ผลแน่นอนคือการฉีดพ่นทางใบ ด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบ

ธาตุแมงกานีส
         ธาตุนี้มีผลกระทบต่อใบ เนื่องจากมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยในต้นพืช และยังควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็กและไนโตรเจนในต้นพืชอีกด้วย
          พืชที่ขาดธาตุแมงกานีสใบจะออกสีเหลืองๆ ส่วนเส้นใบจะเขียวอยู่ปกติ โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดขาว ๆ หรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์ พุ่มต้นโปร่ง
          พืชที่แสดงอาการขาดธาตุแมงกานีส ต้องฉีดพ่นเข้าทางใบด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีองค์ประกอบของธาตุแมงกานีส

ธาตุโบรอน
         มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดูดดึงธาตุอาหารพืช ช่วยให้พืชดูดเอาธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผล เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง
          หากขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคืนยอดและใบอ่อน ส่วนที่ยอดและตายอดจะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้าน และตกกระ มีสารเหนียว ๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น กิ่งก้านจะแลดูเหี่ยว ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหน้า บางทีผลแตกเป็นแผลได้
         
อาการขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบแล้งหรือขาดน้ำมากๆ ควรทำการปรับปรุงดิน หรือน้ำอย่าให้เป็นกรด-ด่างมาก ให้ค่า pH อยู่ที่ประมาณ 6.0 และควรฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบที่มีองค์ประกอบของโบรอนด้วย โดยผักที่มักขาดธาตุอาหารดังกว่าได้แก่ผักในกลุ่มสลัด เช่น สลัดคอส, บัตเตอร์เฮด ฯลฯ

ธาตุโมลิบดินัม
         บทบาทและหน้าที่ของธาตุโมลิบดินัมในพืชนั้น ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังจำเป็นสำหรับขบวนการสร้างสารสีเขียวและน้ำย่อยภายในพืชบางชนิดด้วย
          พืชที่ขาดธาตุนี้จะแสดงอาการที่ใบจะโดยใบจะมีจุดด่างๆ กระจายอยู่ทั่วใบ ในขณะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ ถ้าขาดธาตุนี้รุนแรง ใบจะม้วนเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง และผลมีขนาดแคระแกรนไม่เจริญเติบโต

ธาตุคลอรีน
          คลอรีนมีความสำคัญต่อขบวนการสังเคราะห์แสง มีผลทำให้พืชแก่เร็วขึ้น พืชที่ขาดธาตุคลอรีนใบจะซีด เหี่ยว และใบสีเหลืองบรอนซ์ ถ้ามีคลอรีนมากเกินไปจะทำให้ขอบใบแห้ง ใบจะเหลืองก่อนกำหนด

                             ตัววัดความชื้นในดิน

ตัววัดความชื้นในดิน  จริงๆแล้วการปลูกพืชอะไรสักอย่างเราจะต้องศึกษาข้อมูลให้ดีพอ อย่างเช่นการปลูกมะนาว
มะนาวชอบชื้นไม่ชอบแฉะ ถ้าหากแฉะเกินไปก็จะเกิดรากเน่าโคนเน่าได้ และที่สำคัญก็จะต้องเสียทรัพยากรณ์น้ำ
มากเกิดความจำเป็น รวมถึงค่าไฟฟ้าที่จะต้องเสียเพิ่มเกินความจำเป็นอีกอย่างหนึง ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านั้นคือต้นทุนในการทำเกษตรทั้งนั้น
การที่เกษตกรจะขายผลผลิตได้กำไรนั้นต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย ถ้าเกษตกรควบคุมปัจจัยการผลิตเหล่านี้ได้ จะทำให้ลดการสูญเสียไปได้หลายด้านและทำให้ได้ผลกำไรมากขึ้นเช่นกัน


                                
   

ค่าที่อ่านได้จาก Tensiometer มีความหมายดังนี้

  ช่วง 0 ถึง -10 เซนติบาร์  หมายถึงมีน้ำพอเพียงกับการเจริญเติบโตของพืช น้ำที่อยู่ในดินในช่วงที่อ่านได้ค่านี้  จะระบายออกภายใน 2-3 วัน  หากเราอ่านค่านี้เป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน แสดงว่าดินมีการระบายน้ำไม่ดี ดังภาพด้านล่างนี้


                                                                


    
ช่วง -10 ถึง -20 เซนติบาร์ แสดงว่ามีน้ำและอากาศในดินเพื่อการเจริญเติบโตของพืชในดินทุกชนิด ช่วงนี้คือช่วงความชื้นชลประทาน
(fiel  capacity) ซึ่งหมายถึงดินอุ้มน้ำได้เต็มที่ และไม่สามารถอุ้มน้ำไปได้มากกว่านี้ สำหรับการนำไปใช้ของพืช ช่วงนี้พืชสามารถใช้ประโยชน์จากความชื้นในดินที่มีเพื่อการเจริญเติบโตได้ผลดีที่สุด หากเราให้น้ำแก่พืชในช่วงที่ความชื้นในดินอยู่ในระดับความชื้นชลประทาน น้ำจะระบายออกไปก่อนภายใน 2-3 วัน ก่อนที่พืชจะนำน้ำนั้นมาใช้ ส่วนใหญ่เราจะหยุดการให้น้ำเมื่อค่าที่อ่านได้ในช่วงนี้ หากเราให้น้ำมากเกินไป น้ำจะถูกระบายออกและจะพาธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินออกไปด้วย
ดินเหนียว+ดินร่วน+ดินทราย ไม่ต้องให้น้ำ ดังภาพด้านล่างนี้


                                                              


     
ช่วง -20 ถึง -40 เซนติบาร์ คือช่วงที่มีอากาศและความชื้นพอเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช
                      
ดินเหนียว + ดินร่วน ไม่ต้องให้น้ำ
      
ดินปนทราย ปกติแล้วไม่ต้องให้น้ำ เนื่องจากดินทรายมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ และระดับแรงดูดในดินจะขึ้นรวดเร็วมากเมื่อพืชดึงน้ำไปใช้ หากปลูกพืชที่ดูดน้ำมากในดินทราย เช่น มันฝรั่ง จะต้องให้น้ำเมื่ออ่านค่าได้ -20 ถึง -30 เซนติบาร์ เพื่อป้องกันแรงดันความชื้นในพืชที่เกิดขึ้นจากการที่พืชดูดน้ำจากดินอย่างรวดเร็ว และดินแห้งอย่างรวดเร็ว ดังภาพด้านล่างนี้


                                                               


      
ช่วง -40 ถึง -60 เซนติบาร์ คือช่วงที่จะต้องเริ่มการให้น้ำแก่พืช 
                       
ดินเหนียว + ดินร่วน ต้องให้น้ำ ค่าที่วัดได้จะลดลงทันทีที่ให้น้ำ
                      
ดินทราย ดินแห้งเกินไปพืชเติบโตไม่ดี หากวัดได้ในระดับนี้แสดงว่าพืชขาดน้ำถึงขีดอันตรายแล้ว


                                                              
            



ศัตรูพืชที่สำคัญของมะนาว
         หนอนชอนใบ (Citrus leaf-miner) Phylocnistis citrella Stainton: Phyllocnistidae ความเสียหายจากหนอนชอนใบมักเกิดกับใบอ่อน แม่ผีเสื้อจะวางไข่ไว้ที่ผิวใบ เมื่อหนอนฟักออกมาเป็นตัวก็จะกัดกินผิวใบ และชอนไชเข้าไปกินอยู่ใต้เยื่อผิวใบ ทำให้เป็นรอยทางวกวนสีขาว ทำให้ใบหงิกงอเสียรูปทรงและแห้ง เป็นช่องทางให้โรคแคงเกอร์เข้าทำลายซ้ำเติม แต่สำหรับมะนาวนี้ทนแต่โรคแคงเกอร์
จึงไม่เกิดผลเสีย
แมลงชนิดนี้มีระยะวางไข่ 3-5วัน หนอน 7-10วัน ดักแด้ 5-10วัน และตัวเต็มวัย 5-10 วัน

   

                                     
    การป้องกันและกำจัด: ฉีดพ่นยาเมื่อมะนาวเริ่มมียอดอ่อน ใบอ่อน โดยใช้กลุ่มยาอะบาเม็กติน ไซเพอร์เมทริน หรืออะเซทามิพริด
     
           มวนเขียวส้ม (Citrus green stink bug) Rhychocoris Poseidon Kirkaldy: Hemiptera ชื่อเดิม R. humeralis Thunb. ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและผลเป็นรอยจุดสีคล้ำ ผลอ่อนอาจร่วงหล่อนได้

   
    การป้องกันและกำจัด: ฉีดพ่นยาป้องกันและกำจัด โดยใช้กลุ่มยาคาร์บาริล

         เพลี้ยไฟพริก (Chili thrips) Scirtothrips dorsalis Hood: Thripidae มีพืชอาหารกว้างขวาง ได้แก่ พริก มะม่วง ส้มเขียวหวาน
ส้มโอ มะกรูด มะนาว องุ่น เงาะ กุหลาบ ทุเรียน บัว มังคุด และมันฝรั่ง เป็นต้น ต้นอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดและผลอ่อน หากการป้องกันกำจัดไม่ดี ยอดจะแคระแกร็นไม่ยึดยาว ใบ และผลอ่อนที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย จะปรากฏรอยสีเท่าเงินเป็นทางและจะเปลี่ยนเป็นแผลแห้งตามผิว เพลี้ยไฟมีการเจริญเติบโตเป็นขั้นตอนที่สมบูรณ์คือมีครบ 4 ระยะของของการเจริญเติบโต ได้ แก่ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัยใน 1 ชั่วอายุขัยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 เดือน ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยมีสีเหลืองจะถึงเหลืองอมส้ม ตัวเต็มวัยมีปีก 2 คู่ เวลาเกาะจะหุบซ้อนกันอยู่กลางหลัง สามารถบินไปหาแหล่งอาหารแหล่งใหม่ได้

   

     
    อาการใบอ่อนส้มโอที่ถูกเพลี้ยไฟพริกเข้าทำลาย ทำให้ใบบิดเบี้ยว ใบไม่เหยียดกางออกตามปกติ (ภาพบนซ้าย) เพลี้ยไฟตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีปีก ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบอ่อน พบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ จำนวนมาก อาการที่พบในส้มเขียวหวานและส้มเกลี้ยง (ภาพล่าง) มักเห็นชัดเจนที่ยอดอ่อนและผลอ่อน ทำให้ส้มผลเล็กแคระแกร็น และมีรอยเป็นแผลแห้งเป็นทางๆ ถ้าเป็นกับส้มในระยะใกล้เก็บเกี่ยว ทำให้ผิวส้มหรือ
มะนาวไม่สวย จึงทำให้เสียราคา

   
   

          การป้องกันและกำจัด: ฉีดพ่นยาป้องกันและกำจัด โดยใช้กลุ่มยาอะเซทามิพริด อิมิดาคลอพริด ฟิโพรนิล ไดโนทีฟูแรน 
หรือคาร์โบซัลแฟน

     ผีเสื้อหนอนแก้วส้ม (Lime butterfly) Papilio demoleus L.,: Papilionidae หนอนของผีเสื้อชนิดนี้มักพบเป็นประจำในแหล่งที่
มีการปลูกพืชตระกูลส้ม เป็นแมลงที่แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วและมักเลือกกินยอด ใบอ่อน และดอก วงจรชีวิตระยะไข่ 2-4 วัน หนอน 12-22 วัน
ดักแด้ 8-10 วัน และตัวเต็มวัย 5-10 วัน

     


    ผีเสื้อหางติ่งธรรม (Common mormon) Papilio polytes L.: Papilionidae หนอนของผีเสื้อชนิดนี้กินใบพืชตระกูลส้ม เช่นเดียวกัน วงจรชีวิตใช้เวลาพอๆ กับผีเสื้อหนอนแก้วส้ม ตัวเต็มวัยมีติ่งหาง เพศผู้มีสีดำ เพศเมียมีสีคล้ายผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู คือมีจุด แถบสีชมพู และขาวที่ปีกคู่หลังด้วย

     

                   
    ผีเสื้อฟ้าหนอนมะนาว (Lime Blue) Chilades lajus (Stoll): Lycaenidae  เป็นผีเสื้อกลางวันขนาดเล็กคล้ายผีเสื้อหนอนถั่วสีน้ำเงิน แต่ไม่มีติ่งหาง เพศผู้ด้านบนปีกมีสีม่วงอ่อนปนน้ำเงิน มีของสีเข้มแคบๆ ในขณะที่เพศเมียมีขอบปีกเข้มกว้างกว่า(ภาพกลาง) หนอนผีเสื้อชนิดนี้กินใบมะนาว ในส้มโดยเฉพาะยอด และใบอ่อนเป็นอาหาร ถ้าระบาดมากๆ ก็สร้างความเสียหายแก่มะนาวได้ 

  
การป้องกันและกำจัด: ฉีดพ่นยาป้องกันและกำจัดเมื่อมะนาวเริ่มมียอดอ่อน ใบอ่อน โดยใช้กลุ่มยาอะบาเม็กติน

                                ไซเพอร์เมทริน อะเซทามิพริด

          ไรเหลืองส้ม (Citrus yellow mite) Eutetranychus cendanai Rimando: Tetranychidae  เพศเมียมีสีเหลืองอมเขียว ลำตัวรูปไข่ ส่วนเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ลำตัวกว้างทางส่วนหน้า และเรียวแคบทางส่วนหลัง วัย 1-2 มีสีเหลืองอมเขียว วัย 3 มีสีเหลืองแดง ถึงแดง ขาทั้ง4 มีสีจางกว่าสีของลำตัวเล็กน้อย ไรเหลืองส้มเจริญเติบโตจากระยะไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัยได้ในเวลา 8-9 วัน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและผลโดยไม่มีการสร้างใยไว้บนใบ อาจมีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ทิ้งใบและตายได้

     

           
        ไรขาวพริก
(Broad mite, Yellow tea mite) Polyphago tarsonemus latus (Banks): Tarsonemidae ไรขาวพริกมีรูปร่างค่อนข้างกลม หลังโค้งนูน มีวงจรชีวิตสั้น ระยะไข่ ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 4-5 วันเท่านั้น อาการที่ผลส้มโอที่ถูกไรขาวพริกดูดกิน จะเห็นเป็นรอยด่างสีขาวซีดๆ ผิวค่อนข้างขรุขระ ถ้าระบาดมากๆ จะเป็นรอยขาวไปทั้งผล ทำให้ผลส้มโอไม่โตเท่าที่ควร ผิวมีตำหนิ

   

                          
       ไรแดงแอฟริกัน (African red mite) Eutetranychus africanus (Tucker): Tetranychidae ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ด้านบนใบส้ม บางครั้งพบที่ด้านใต้ใบด้วย ทำให้ใบส้มมีสีเขียวจางลง ผิวใบด้าน ไม่มันเหมือนปกติ คราบของไรแดงมองดูคล้ายฝุ่นผง ส่วนที่ผลส้มจะเกิดรอยประสีขาวจางกระจายไปทั่ว ผลส้มมีขนาดเล็กลง หารไรแดงระบาดรุนแรงอาจทำให้ผลร่วงได้ พืชอาศัยชนิดอื่นๆ ที่พบนอกจากพืชตระกลูส้ม เช่น ฝ้าย มะละกอ สาเก ขนุน ขี้เหล็ก มะรุม ถั่วเหลือง ละหุ่ง แตงโม ตำลึง ชบา ข้าวและทุเรียน ไรแดงแอฟริกันมีวงจรชีวิตจากระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย นานประมาณ 9 วันเศษ

   

       
     ไรสนิมส้ม
(Citrus rust mite) Phyllocoptruta oleivora(Ashmead): Eriophyidae ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็กมาก ยากที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวแบนยาวคล้ายหนอน มีสีเหลืองอ่อน ด้านหน้ากว้างและเรียวเล็กลงทางด้านท้าย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใต้ใบแต่บางครั้งก็พบที่บนใบด้วย ทำให้ใบกระด้าง และมีสีเขียวคล้ำ ผลส้มที่ถูกดูดกินมีสีเปลือกเปลี่ยนจากเขียวเป็นสีน้ำตาลแดงคล้ายสนิมเหล็ก บางคนเรียกว่า ผิวส้มแบบส้มบางมด เนื่องจากส้มบางมดซึ่งเป็นส้มที่อร่อย มีรสหวาน เนื่องจากส้มบางมดซึ่งเป็นส้มที่อร่อย มีรสหวานจัด ดังนั้นผู้บริโภคส่วนหนึ่งจึงไม่ปฏิเสธส้มผิวไม่สวยแบบส้มบางมด อย่างไรก็ตามการมีไรสนิมส้มลงทำลายมากย่อมกระทบต่อผลผลิตและขนาดของส้มที่ไม่โตเท่าที่ควร    

   

          
                                            แบ่งปันความรู้จากหนังสือโรคและแมลง ศัตรูพืชที่สำคัญ โดย พิสุทธิ์  เอกอำนวย

        การป้องกันและกำจัด: ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดหรือป้องกัน ด้วยกลุ่มยาโพรพาไกต์ ซัลเฟอร์ หรือไพริดาเบน        
                                           
        การป้องกันศัตรูพืช สามารถใช้ชีวภาพหรือสารสกัดจากพืชได้ เพื่อลดต้นทุนและความปลอดภัยของเกษตรกร รวมถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย
         การกำจัดศัตรูพืช เมื่อพบการระบาดในแปลงนั้นต้องใช้สารเคมีกลุ่มต่างๆ ให้เหมาะสม เพราะบางกลุ่มสามารถควบคุม และกำจัดแมลงได้หลายชนิด ดังนั้นเกษตรกรควรศึกษาและวางแผนให้ดี ศึกษาความคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วย และที่สำคัญต้องมีการป้องกันแมลงดื้อยาด้วย
 
         สวนสุระจินดา ได้นำแนวคิดของท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี มาใช้ในการควบคุมและกำจัดแมลง นั่นคือระบบ 1-4-7 นำหลักการมาปฏิบัติ ในการพ่นยาฆ่าแมลง   เพื่อให้สามารถความคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                                   
   

 

 

ตระกร้าสินค้า

 x 

ไม่มีสินค้าในตระกร้า