ปั๊มน้ำ การเลือกปั๊มน้ำ
ถ้าเราจะเลือกปั๊มน้ำสักตัวใช้งานให้เหมาะสมกับหัวสปริงเกอร์ที่ใช้งานหรือใช้งานทั่วไปแล้ว แล้วคำนวนตามหลักการจริงๆผมว่าคนธรรมดาอย่างเราคงไม่มีทางเข้าใจและไม่มีวันเข้าใจ พานเปลียนเว็บไซท์ไปตั้งแต่เห็นสูตรการคำนวนอันแรกแล้ว แต่ถึงเราไม่อยากดูสูตรที่ชวนตาลาย แต่ว่าเราก็จำเป็นต้องรู้พื้นฐานต่างๆของปั๊มด้วยเช่น หน่วยวัดต่างๆที่ใช้กับปั๊มน้ำ , การดูตารางความสามารถของปั๊มน้ำ , แรงดันสูญเสียภายในท่อ, ไม่เช่นนั้นเราจะไม่มีทางรู้วิธีการเลือกได้เลย
หน่วยวัด
-
หน่วยวัดการไหลของน้ำ ที่ปั๊มน้ำสามารถทำได้ หน่วยที่นิยมใช้กันก็มีดังนี้
-
ลิตรต่อนาที L/min (หมายความว่าภายใน 1 นาทีมีน้ำไหลผ่านได้ 1 ลิตร )
-
ลูกบากศ์เมตรต่อชั่วโมง m3/hr (หมายความว่าภายใน 1 ชั่วโมงมีน้ำไหลผ่านได้ 1 ลูกบากศ์เมตร)ผมคงไม่ต้องอธิบายว่า 1 ลบซม. มันขนาดไหนมั้งครับ
-
-
หน่วยวัดความสูงที่ปั๊มน้ำสามารถส่งขึ้นไปในแนวตั้งได้ หน่วยวัดที่นิยมใช้มีแค่หน่วยเดียวคือ
-
M (เมตร) อันนี้ไม่ต้องคิดมากใช้กันอยู่อย่างเดียว
-
-
หน่วยวัดกำลังมอเตอร์ของปั๊มน้ำ มีแค่ 2 อย่างที่เราจะเห็นตามแค๊ตตาล็อกทั่วไป
-
HP แรงม้า(ประมาณ 750 วัตต์ = 1 แรงม้า)
-
Kw กิโลวัตต์ (1000 วัตต์ = 1 กิโลวัตต์)
-
ทำไมหน่วยวัดต้องมี 2 อย่าง 3 อย่างทำไมไม่ใช้อย่างไดอย่างหนึ่งเป็นมาตรฐานไปเลยจะได้ไม่ต้องแปลงหน่วยให้ปวดหัวแบบนี้ ก็ต้องไปโทษพวกยุโรปกับอเมริกัน ว่าต่างคนต่างชอบสร้างมาตรฐานของตัวเองออกมา เราผู้ใช้งานปั๊มก็เลยต้องปวดหัวกับการคำนวนแบบนี้
ขนาดของท่อ (Pipe)
ขนาดของท่อและชนิดของท่อมีความสำคัญในการใช้งาน ขนาดของท่อที่เล็กย่อมทำให้น้ำไหลผ่านได้น้อย ท่อที่ใหญ่น้ำย่อมผ่านได้มากกว่า ชนิดของท่อก็มึผลกับการไหลของน้ำด้วยเช่นกัน แต่ไม่ต้องตกใจหรือกังวลไปดูไว้คราวๆก็พอ เวลาเลือกใช้งานจริงก็อย่าขี้เหนียวนักจะได้ไม่ต้องเสียเงินซ้ำซ้อนเปลี่ยนท่อใหม่
อัตราการไหลสูงสุดในท่อพีอี PN 4 อัตราการไหลสูงสุดในท่อพีวีซี CLASS 8.5
ขนาดท่อพีอี
|
อัตราการไหลสูงสุด |
อัตราการไหลสูงสุดโดยประมาณ |
|
ขนาดท่อพีวีซี |
อัตราการไหลสูงสุด |
อัตราการไหลสูงสุดโดยประมาณ |
16 |
1,046 |
1.05 |
½ |
1,405 |
1.41 |
|
20 |
1,635 |
1.63 |
¾ |
2,054 |
2.05 |
|
25 |
2,591 |
2.59 |
1 |
3,819 |
3.82 |
|
32 |
4,499 |
4.49 |
1 ¼ |
6,127 |
6.13 |
|
40 |
7,009 |
7.00 |
1 ½ |
7,992 |
7.99 |
|
50 |
10,952 |
10.95 |
2 |
12,464 |
12.46 |
|
63 |
17,488 |
17.49 |
2 ½ |
20,200 |
20.20 |
|
75 |
24,792 |
24.79 |
3 |
27,700 |
27.70 |
|
90 |
35,665 |
35.66 |
4 |
45,538 |
45.54 |
|
110 |
53,228 |
53.23 |
5 |
68,649 |
68.65 |
|
125 |
68,701 |
68.70 |
6 |
95,464 |
95.46 |
แรงดันสูญเสียภายในท่อ (Head loss)
แรงดันที่สูญเสียไป (Head loss) คือแรงดันของน้ำที่สูญเสียไประหว่างที่ไหลผ่านท่อ, กรองน้ำ,ข้อต่อ,วาล์ว แรงดันที่สูญเสียไปเนื่องจากแรงเสียดทานนี้ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในระบบน้ำ น้ำจะเสียแรงดันมากขึ้นตามความเร็วของน้ำในระบบ ดังนั้นถ้าระบบน้ำมีการใช้ขนาดของท่อให้เล็กกว่าปกติ กรองเกิดการอุตัน หรือหัวจ่ายน้ำอุดตัด แรงดันก็จะสูญเสียมากขึ้นตามไปด้วย มีผลให้ความสามารถในการส่งน้ำสูญเสียไป
ตารางความสามารถของ ปั๊มน้ำ
Model |
Motor |
Voltage |
Q=Capacity (M3/Hr, L/min) |
ขนาดท่อ เข้า |
ขนาดท่อ ออก |
||||||||||
KW |
HP |
220v. 50hz |
M3/H |
0.6 |
1.2 |
1.8 |
2.4 |
3 |
3.6 |
4.2 |
4.8 |
6 |
|||
L/min |
10 |
20 |
30 |
40 |
50 |
60 |
70 |
80 |
100 |
||||||
VJ100 |
0.74 |
1 |
4.7 |
Head (M.) |
48 |
43 |
38 |
33 |
25 |
10 |
|
|
|
1"G |
1"G |
VJ150 |
1.1 |
1.5 |
8.2 |
61 |
59 |
57 |
54 |
50 |
46 |
40 |
|
|
1.1/2"G |
1"G |
|
VJ200 |
1.65 |
2.2 |
10.3 |
61 |
59.5 |
58 |
56 |
54 |
51 |
49 |
46 |
40 |
1.1/2"G |
1"G |
นี่คือตัวอย่างตารางความสามารถของ ปั๊มน้ำ
จากตัวอย่างความสามารของปั๊มน้ำข้างบนตัวเลขแดงๆนั้นคือจุดที่ใช้งานดีที่สุดของปั๊มน้ำนั้นๆ ไม่ตกไปทางซ้ายหรือทางขวามากเกินไป
- ถ้าเราต้องการปั๊มขนาด 1.5 แรงมาใช้งานก็คงต้องเลือกรุ่น VJ150 ซื้งปั้มน้ำตัวนี้จะมีจุดที่ใช้งานดีที่สุดอยู่ที่ ส่งสูง 54 m.จ่ายน้ำได้ 40 L/min(2.4 m3/hr)
- ถ้าเราต้องการปั๊มน้ำที่สามารถส่งสูงได้ 54 m. ต้องการน้ำที่ 40 L/min เราก็คงต้องเลือกรุ่น VJ150 ทำไมไม่เลือกรุ่นVJ200 ดูจากตารางก็สามารถส่งสูงได้ 54 m.แถมได้ปริมาณน้ำมากกว่า ก็เพราะว่ามันแพงกว่าแค่นี้เอง ในเมือตัวเล็กกว่าก็ทำได้แล้วทำไมต้องเลือกที่มันแพงกว่า จะจ่ายแพงกว่าทำไม อ้าวแล้วทำไมไม่เลือกรุ่น VJ100ก็เพราะว่ามันส่งได้ไม่ถึง 54m.นั้นเอง ในเมือทำไม่ได้ก็ตัดไปได้เลย
หมายเหตุ เราควรเพิ่มแรงดันของปั๊ม(ความสามารถในการส่งสูง) เพิ่มไปอีก ~30-50% เรื่องจากการต่อข้อต่อต่างๆรวมถึงระยะทางในการส่ง ขนาดมีผลต่อการเกิด HeadLoss