สูตรหญ้าผสมขี้ไก่
ส่วนประกอบ
- หญ้าสด ๕๐ กก.
- ขี้ไก่ ๕ กก.
ไม่ควรเลือกไก่ที่กินยาปฏิชีวนะ เพราะจะทำให้มีกลิ่นเหม็นเน่าและเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ในดิน และที่ปลาย รากพืช
วิธีทำ
นำหญ้าสด ๑๐ กก. ใส่ลงในถังหมักพลาสติกขนาด ๒๐๐ ลิตร ย่ำให้แน่น (จะสูงประมาณ ๒๐ ซม.) โรยขี้ไก่หมาดๆ ๑ กก. ทับลงบนหญ้า ทำซ้ำ เช่นเดิมอีก ๔ ชั้น ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม จากนั้นบ่มไว้ประมาณ ๔๕ วัน ขึ้นไปจะได้ปุ๋ยน้ำเข้มข้นคุณภาพดี
วิธีใช้
ผสมน้ำ ๑ : ๒๐๐-๕๐๐ รดดินหรือ
ผสมน้ำ ๑:๓๐๐-๑๐๐๐ ฉีดลำต้นและใบ
สูตรเศษอาหาร (ปุ๋ยคน)
ส่วนประกอบ
- เศษอาหารในครัวเรือน ๓ กก.
- น้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล ๑ กก.
- น้ำสะอาด ๑ –๑๐ ลิตร (แล้วแต่
เศษอาหารมีน้ำมากหรือไม่)
- หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น ๑ ลิตร
วิธีทำ
นำเศษอาหาร ๓ กก. ใส่ลงในถังพลาสติก แยกผสมน้ำกับน้ำตาลให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นลงไป จากนั้นนำไปเททับลงในถังที่ใส่เศษอาหารให้ทั่วปิดฝาให้สนิท ไม่ให้
แสงและอากาศเข้าได้ บ่มทิ้งไว้ประมาณ ๙๐ วัน จะได้ปุ๋ยน้ำคุณภาพดี กลิ่นหอมรสเปรี้ยว (pH ประมาณ ๓)
หมายเหตุ ปริมาณส่วนผสมต่างๆ ปรับได้ตามส่วน
วิธีใช้
ผสมน้ำ ๑:๑๐๐-๔๐๐ รดโคนหรือ
ผสมน้ำ ๑:๒๐๐-๑๐๐๐ ฉีดลำต้นและใบ
สูตรพืชผัก
ส่วนประกอบ
- เศษพืชผักผลไม้ทุกชนิด ๓ กก.
- น้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล ๑ กก.
- น้ำสะอาด ๑๐ ลิตร
- หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น ๑ ลิตร
วิธีทำ
นำเศษผัก ผลไม้สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในถังพลาสติก แยกผสมน้ำกับน้ำตาลให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นลงไป จากนั้นนำไปเททับลงบนเศษผักผลไม้ในถังให้ทั่ว ใช้ไม้ไผ่ขัด กดให้เศษผักจมน้ำ ปิดฝาให้สนิท ไม่ให้แสงและอากาศเข้า บ่มทิ้งไว้ในที่ร่ม ๙๐ วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะได้ปุ๋ยน้ำคุณภาพดีกลิ่นหอม และรสเปรี้ยว (pH ๓.๓) เหมาะสำหรับรดพืชผักทุกชนิด
หมายเหตุ ถ้าต้องการรดผักชนิดไหนให้ใช้ผักชนิดนั้นหมักเป็นหลัก ร่วมกับพืชผักที่ชอบขึ้นร่วมกับผักชนิดนั้น
การทำปุ๋ยหมักแห้งจากปุ๋ยคอกโดยใช้เชื้อ พ.ด.1
วัสดุอุปกรณ์
1. ปุ๋ยคอก (ขี้เป็ด,ขี้ไก่,ขี้วัว ฯลฯ) 20 ก.ก.
2. รำละเอียด 2 ก.ก
3. พ.ด.1 1 ซอง
4. น้ำสะอาด
วิธีการทำ
1. กองปุ๋ยคอกเกลี่ยแผ่ให้หนาพอควร
2. โรยรำละเอียดให้ทั่ว
3. เชื้อ พ.ด.1 ฉีกซองแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที ใช้ไม้กวน โปรยน้ำลงบนกองให้ทั่ว
4. ใช้จอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน โปรยน้ำสะอาดลงไปอีกพอหมาดๆ มีความชื้นประมาณ 45% ใช้มือบีบคลายออก ปุ๋ยเป็นก้อน ไม่แตกออกและน้ำไม่ไหลออกตามง่ามมือถือว่าพอดีใช้ได้
5. เกลี่ยกองปุ๋ยเป็นรูปสี่เหลี่ยมหนาพอควรใช้กระสอบคลุม
6. หมักไว้ 7 วัน พลิกกองปุ๋ยทุกวันเพื่อระบายความร้อนและเติมอากาศให้กับจุลินทรีย์
7. กองปุ๋ยจะเริ่มร้อนขึ้นเมื่อหมักครบ 24 ชม. และจะร้อนไปจนถึงวันที่ 4 ความร้อนจะเริ่มลดลงจนถึงวันที่ 7 เป็นปุ๋ยเย็นนำไปใช้ใส่ต้นไม้ได้
วิธีการใช้
1. ใส่แปลงผักใช้ประมาณ 4 บุ้งกี๋ / 1 ต.ร.ม. ผสมคลุกเคล้ากับดิน
2. ถ้าจะให้ดีใช้ปุ๋ยหมักแห้งจาก พ.ด.1 กับ พ.ด.3 อย่างละ 1 ส่วนเท่าๆกันจะได้ผลดีมากเพราะป้องกันโรคโคนเน่ารากเน่า
3. ถ้าจะทำดินหมักให้ใช้ดินอีกเท่าตัวเกลี่ยแผ่ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำพอหมาดหมักไว้ 7 วันคลุมกองด้วยกระสอบพลิกกองทุกวันเสร็จแล้วนำไปปลูกต้นไม้ได้เป็นดินผสมอย่างดี
4. ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้คู่กับปุ๋ยหมักน้ำ(น้ำหมักชีวภาพ พ.ด.2) เพื่อเป็นการเติมจุลินทรีย์ลงดิน
การทำปุ๋ยหมักแห้งจากปุ๋ยคอกโดยใช้เชื้อ พ.ด.3
วัสดุอุปกรณ์
1. ปุ๋ยคอก (ขี้เป็ด,ขี้ไก่,ขี้วัว ฯลฯ) 20 ก.ก
2. รำละเอียด 2 ก.ก.
3. พ.ด.3 1 ซอง
4. น้ำสะอาด
วิธีการทำ
1. กองปุ๋ยคอกเกลี่ยแผ่ให้หนาพอควร
2. โรยรำละเอียดให้ทั่ว
3. ใช้เชื้อ พ.ด.3 ฉีกซองแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที ใช้ไม้กวนโปรยน้ำลงบนกองให้ทั่ว
4. ใช้จอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน โปรยน้ำสะอาดลงไปอีกพอหมาดๆ มีความชื้นประมาณ 45% ใช้มือบีบคลายออก ปุ๋ยเป็นก้อน ไม่แตกออกและน้ำไม่ไหลออกตามง่ามมือถือว่าพอดีใช้ได้
5. เกลี่ยกองปุ๋ยเป็นรูปสี่เหลี่ยมหนาพอควรใช้กระสอบคลุม
6. หมักไว้ 7 วัน พลิกกองปุ๋ยทุกวันเพื่อระบายความร้อนและเติมอากาศให้กับจุลินทรีย์
7. กองปุ๋ยจะเริ่มร้อนขึ้นเมื่อหมักครบ 24 ชม. และจะร้อนไปจนถึงวันที่ 4 ความร้อนจะเริ่มลดลงจนถึงวันที่ 7 เป็นปุ๋ยเย็นนำไปใช้ใส่ต้นไม้ได้
วิธีการใช้
1. ใส่แปลงผักใช้ประมาณ 4 บุ้งกี๋ /1 ต.ร.ม. ผสมคลุกเคล้ากับดิน
2. ถ้าจะให้ดีใช้ปุ๋ยหมักแห้งจาก พ.ด.1 กับ พ.ด.3 อย่างละ 1 ส่วนเท่าๆกันจะได้ผลดีมากเพราะป้องกันโรคโคนเน่ารากเน่า
3. ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้คู่กับปุ๋ยหมักน้ำ(น้ำหมักชีวภาพ พ.ด.2) เพื่อเป็นการเติมจุลินทรีย์ลงดิน
การทำปุ๋ยหมักน้ำน้ำหมักชีวภาพ พ.ด.2
วัสดุอุปกรณ์
1. ผลไม้ เช่น สับปะรด,กระท้อน ฯลฯ 30 ก.ก
2. กากน้ำตาล 10 ก.ก.
3. น้ำสะอาด 30 ลิตร
4. พ.ด.2 1 ซอง
5. ถังพลาสติกหมักขนาด 200 ลิตร 1 ลูก
วิธีการทำ
1.ล้างสับปะรดให้สะอาดใช้มีดหั่นสับเป็นแว่นๆทั้งเปลือก เทลงถังหมัก
2. เทกากน้ำตาลลงในถังใช้ไม้กวนผสมให้ทั่ว
3. เติมน้ำสะอาดลงไปตามจำนวน
4. ฉีกซอง พ.ด.2 เทเชื้อลงไปใช้ไม้กวนให้ทั่ว
5. ปิดถังด้วยถุงพลาสติกแล้วใช้เชือกผูกมัดปากถังให้เรียบร้อย
6. หมักไว้ 3 สัปดาห์(21 วัน) เปิดถังใช้ไม้กวนเป็นบางครั้งบางคราวประมาณ 3 วัน/ครั้ง
วิธีการใช้
1. กรองเอาแต่น้ำหมัก นำไปผสมน้ำตามอัตรส่วนดังนี้
1.1 1 / 200 ฉีดพ่นไม้ผลต้นแก่ให้ผลแล้ว (5 ปีขึ้นไป)
1.2 1 / 500 ฉีดพ่นไม้ผลต้นอ่อนยังไม่ให้ผล (1-5 ปี)
1.3 1 / 1,000 ฉีดพ่นแปลงผัก,พืชผักสวนครัว
2. เน้นการฉีดลงดิน
2.1 ไม้ผลควรฉีดให้ครบ 8 ครั้งในฤดูฝน
2.2 แปลงผักผสมน้ำ1 / 1,000ใช้บัวรดน้ำรดทุกวัน
2.3 ลองกองติดผลแล้ว ใช้ 1 / 200 ฉีดช่อผลป้องกันโรคราน้ำค้าง ประมาณ 5-7 วัน/ครั้ง
2.4 ลองกองเป็นขี้กลากใช้ 1 / 10 ฉีดพ่นตามลำต้นและกิ่งที่เป็น ประมาณ 3-5วัน/ครั้ง
การทำน้ำหมักสมุนไพร พ.ด.7
วัสดุอุปกรณ์
1. สมุนไพร เช่นใบสะเดา,ตะไคร้หอม,สาบเสือฯลฯ 30 กก.
2. กากน้ำตาล 10 ก.ก.
3. น้ำสะอาด 30 ลิตร
4. พ.ด.7 1 ซอง
5. ถังพลาสติกหมักขนาด200ลิตร 1 ลูก
วิธีการทำ
1. สับสมุนไพรให้เป็นท่อนยาวประมาณ 1-2 นิ้วเทลงถังหมัก
2. เทกากน้ำตาลลงในถังใช้ไม้กวนผสมให้ทั่ว
3. เติมน้ำสะอาดลงไปตามจำนวน
4. ฉีกซอง พ.ด.7 เทเชื้อลงไปใช้ไม้กวนให้ทั่ว
5. ปิดถังด้วยถุงพลาสติกแล้วใช้เชือกผูกมัดปากถังให้เรียบร้อย
6. หมักไว้ 3 สัปดาห์(21 วัน) เปิดถังใช้ไม้กวนเป็นบางครั้งบางคราวประมาณ 3 วัน/ครั้ง
วิธีการใช้
1. กรองเอาแต่น้ำหมักนำไปผสมน้ำตามอัตราส่วนดังนี้
1.1 1 / 200 ฉีดพ่นไล่แมลงในไม้ผล
1.2 1/500 ฉีดพ่นไล่แมลงในแปลงผัก
2. ถ้าระบาดมากฉีด 3 วัน / ครั้ง ถ้าระบาดน้อยฉีด 5-7 วัน / ครั้ง
3. ถ้าจะให้ได้ผลดีควรฉีดพ่นสลับกลิ่นอย่าใช้ชนิดเดียวซ้ำกัน