การวางระบบน้ำเข้าสวนมะนาว

เห็นจากหลายท่านได้ทำงานหรือปวดหัวกันมากกับการวางระบบน้ำในสวนมะนาว
ทำไมถึงต้องมานั่งปวดหัวกันล่ะ
ก็เพราะ ระบบน้ำในสวนนั้นมีความสำคัญอันดับแรกก่อนที่จะปลูก
ต้นมะนาวต้องการน้ำทั้งนั้น
ส่วนต่อมาก็เป็น ดิน ปุ๋ย สายพันธุ์ อื่นๆ
 
อันดับแรก
ก่อนที่เราจะซื้อกิ่งมะนาวมาปลูกในสวน
แต่การวางระบบน้ำก็เหมือนกับลองผิดลองถูกกันมาเยอะ
โดยไม่นึกว่าเราจ่ายเงินไปเท่าไหร่ ค่าท่อ PVC,ค่าของต่างๆ,ค่าแรง เป็นต้น 

แล้วมีอะไรบ้างที่เราต้องดูเรามีแค่พื้นที่ อย่างเดียว+ความฝันอันเลิศหรู
ว่าจะมีรูปถ่ายใน Facebook มียอดขายเป็นหลายบาท
ก่อนที่จะทำสวนมะนาวทำอย่างไรก่อน เพื่อให้ได้ยั่งยืน ในอนาคต
ถ้าเราคิดจะทำการเกษตร ให้รุ่ง รวย
 
ในที่นี้จะกล่าวถึงการวางระบบน้ำเป็นหลัก
 
1.พื้นที่เท่าไหร่ที่จะปลูก ว่ากี่ไร่ เพื่อที่จะทำแนวท่อจะได้ไปถึงทุกต้นอย่างสม่ำเสมอ
2.ปริมาณจำนวนพันธุ์มะนาว กับพื้นที่เราจะปลูก มีอะไรบ้างเพื่อที่จะเป็นข้อมูลการจัดการน้ำ
ว่าจะปลูกประมาณเท่าไหร่ และจะมีผลต่ออัตราการรอดเท่าไหร่
3.น้ำเป็นอย่างไร
-สำรวจก่อนเลยว่าน้ำเป็นอย่างไรก่อน
เช่น เปรี้ยว,เค็ม,กรด,ด่าง (ไม่รวมดินที่จะปลูกนะครับเยอะไป)
-แหล่งน้ำจ่ายเข้าสวนจากที่ไหน เช่น บ่อ แม่น้ำ ฝน
-ระยะทางในการให้น้ำ เหมาะกับการลงทุนหรือไม่
-ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเจาะสำรวจ น้ำ
ปัจจุบันพบว่าค่าขุดเจาะน้ำนั้นแพงมาก
ถ้าเราจะลงทุน ควรที่จะพิจารณาข้อนี้ด้วยนะครับ
 
4.อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบน้ำ
-เครื่องดูดน้ำเข้าระบบ เช่นปั๊มต่างๆ ขนาดกี่แรงถึงจะเหมาะสมกับสวนเรา
-แนวท่อ PVC กับ ท่อ PE กี่เมตร
-กรองเศษหิน เพื่อกันเศษหินเข้าท่อมินิสปริงเกอร์
 
การวางแนวท่อต้องทำเป็น
ในกระดาษก่อน นะครับ
ไม่งั้นเวลาจะซื้ออุปกรณ์
คำนวณไม่ถูกว่าจะต้องวางกี่เมตร
 
เราอาจจะต้องเปลืองเงินโดย
ไม่ได้ใช้งานอุปกรณ์นั้นเลยก็ว่าได้ 
 
ระบบท่อน้ำ ทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าสู่แปลงปลูก
 
ระบบท่อ ทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าสู่แปลงปลูก
ในการติดตั้งระบบน้ำ

       ในการ ติดตั้งระบบน้ำ เพื่อที่จะให้น้ำมีแรงดันพอที่จะหมุนหัวมินิสริงเกลอร์ และไหลออกในปริมาณที่ต้องการ จำเป็นต้องแบ่งท่อเป็น 3 ขนาด คือ

       1. ท่อประธาน (Main pipe) เป็นท่อขนาดใหญ่ที่สุด ส่งน้ำในปริมาณที่พอเพียงทั้งแปลง

       2. ท่อรองประธาน(Sub-main pipe) เป็นท่อขนาดรองลงมา ส่งน้ำเพียงบางส่วนของแปลง

       3. ท่อย่อย(Lateral pipe) เป็นท่อขนาดเล็ก ส่งน้ำเฉพาะแถวของต้นไม้ ซึ่งมีต้นไม้ไม่กี่ต้น

ตัวอย่างภาพการต่อระบบท่อ

ภาพที่ 1
แบ่งการให้น้ำเป็น 4 โซน แต่ละโซน มีประตูน้ำ คือ ที่1 , ที่2 , ที่ 3 และ ที่ 4

ดังนั้น  แต่ละโซน  ให้น้ำ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด

**ท่อย่อย สีดำ ตามแถวพืช แต่ละเส้น ยาว  จึงต้องใช้ท่อใหญ่กว่าภาพที่ 2

ภาพที่ 2
แบ่งเป็น 4 โซน แต่ละโซนรับผิดต้นไม้ 1/4 ของสวน แต่วางท่อรองประธาน ห่างกัน  ทำให้

ท่อย่อย แต่ละเส้นสั้นกว่า ภาพที่ 1 (นับจากท่อแยกไป)  จึงใช้ท่อขนาดเล็กกว่า ภาพที่ 1 ได้

ทั้ง ภาพที่ 1 และ 2  จำนวนแถวต้นไม้  ระยะแถว  ระยะต้น  เท่ากันทุกประการ

ภาพที่ 3
พื้นที่แคบและยาว  ดังนั้นจึงวางท่อประธานและรองประไว้ข้างแปลง  ส่วนท่อย่อยวาง

ตามแนวที่แคบ  และแบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน  ดังนั้นท่อรองประธานยาว จึงต้องใช้ท่อใหญ่กว่า

ภาพที่ 4

ภาพที่ 4

แบ่งเป็น 4 โซน  ดังนั้นท่อรองประธานแต่ละช่วง สั้นกว่า  จึงใช้ท่อเล็กกว่าได้
ภาพที่ 5

กรณีพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยม  รี หรือ อื่นๆ  การแบ่งโซน  ให้แต่ละโชน มีจำนวนต้นไม้ใกล้เคียงกัน
ภาพที่ 6

เป็นภาพรวมของการวางท่อแบบต่างๆ  ทั้ง 6 ภาพ  เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการวางระบบท่อเท่านั้น
การที่เราต้องแบ่งโซนให้เล็กๆ  เพราะ
  สมมตว่า  ภาพที่ 3  เปิดที่เดียวพร้อมกันทั้งแปลง นาน 20 นาที   ภาพที่4  เปิดน้ำให้ที่ละโซน ๆ ละ 20 นาที รวม  80  นาที     การใช้งานจะมีลักษณะดังนี้

1.  การแบ่งโซนเล็กๆ  ใช้ปัมป์ขนาดเล็กลง  เช่น ภาพที่ 3  เราอาจใช้ปัมป์ ขนาดน้ำออก ชั่วโมงละ 1200 ลิตร   แต่ภาพที่ 4 เราใช้ปัมป์ขนาดน้ำออก เพียง 300 ลิตร

2.  ใช้ท่อประธาน ท่อรองประธาน หรือท่อย่อย  ขนาดเล็กลงเช่นกัน

     จาก 2 ข้อ  ทำให้ประหยัดค่าปัมป์ และท่อ

3.  กรณีหน้าร้อน น้ำซึมขึ้นจากบ่อช้า เราใช้ตามภาพที่ 3  น้ำจะหมดบ่อก่อนเวลา 20 นาที  แต่ถ้าใช้าพที่ 4  ใช้น้ำน้อยกว่า  ดังนั้นเราสูบน้ำต่อกันไป 80 นาที  ตาน้ำไหลขึ้นมาทัน

     คราวนี้ มาพูดถึงขนาดท่อประธาน และรองประธาน

     **ท่อขนาดเล็กกว่า  ในความยาวเท่ากัน  จึงเกิดแรงดันน้ำสูญเสียมากกว่าท่อขนาดใหญ่  จึงทำให้ แรงดันน้ำปลายท่อไม่พอให้มินิสปริงเกลอร์หมุนได้

    **ฉะนั้นอย่าลดขนาดท่อประธาน  เช่น  จาก 2 นิ้ว เหลือ 1.5 นิ้ว  เหลือ 1 นิ้ว และปลายสุดเหลือ 3/4 นิ้ว  ควรใช้ขนาด 2 นิ้ว ตลอด  แรงดันน้ำจะลดลงน้อยกว่า

ภาพที่ 7  แสดงความดันสูญเสียในท่อยาว 100 เมตร
ตามภาพ  สมมตว่า  ต้องการน้ำออก  ชั่วโมงละ 2 ลบ.เมตร  ใช้ท่อยาว 100 เมตร ถ้า

1.  ใช้ท่อ 1/2 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 40 เมตร  น้ำไม่มีแรง

2.  ใช้ท่อ 3/4 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 10 เมตร  น้ำเหลือแรงดันน้อย

3.  ใช้ท่อ 1 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 3.5 เมตร   แรงดันน้ำเหลือมากพอ

4.  ใช้ท่อ 1 1/4 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 0.7 เมตร

5.  ใช้ท่อ 1 1/2 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 0.35 เมตร

ตาม ตาราง  จะเห็นว่า  การใช้ท่อขนาดเล็ก  จะเกิดแรงเสียดทานในท่อมาก  ทำให้น้ำที่ออกมามีแรงดันน้ำเหลือน้อย  ไม่พอให้หัวมินิสปริงเกลอรืหมุนได้ นะครับ

**ฉะนั้นจากความคิดที่ว่า  ท่อยิ่งรีดให้เล็กลง น้ำยิ่งออกแรง เป็นความเข้าใจผิด  แต่ถ้าเราใช้ ท่อ 1.5 นิ้ว ยาว 100 เมตร  แล้วรีดปลายท่อให้มีขนาดเล็ก 1/2 นิ้ว  ยาวเพียง 2-3 นิ้ว  น้ำพุ่งแรงแน่**

ที่มา:http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=26216.0

ตระกร้าสินค้า

 x 

ไม่มีสินค้าในตระกร้า