manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
manowdee.com
 
 
 

 

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยธาตุทั้งหมด 16 ธาตุ ในจำนวนธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตนั้น มี 3 ธาตุ ที่พืชได้มาจากอากาศและน้ำ คือ คาร์บอน ( C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ส่วนอีก 13 ธาตุนั้น พืชต้องดูดดึงขึ้นมาจากดิน ซึ่งธาตุเหล่านี้ได้มาจากการผุพงสลายตัวของส่วนที่เป็นอนินทรียวัตถุและอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสในดิน สามารถแบ่งตามปริมาณที่พืชต้องการใช้ได้ เป็น 2 กลุ่มคือ มหธาตุ และจุลธาตุ

1.มหธาตุ(macronutrients) มหธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ที่ได้มาจากดินมีอยู่ 6 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

ธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เนื่องจากสามธาตุนี้พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก แต่มักจะได้รับจากดินไม่ค่อยเพียงพอกับความต้องการ ต้องช่วยเหลือโดยใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg)และกำมะถัน(S)เป็นกลุ่มที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าและไม่ค่อยมีปัญหาขาดแคลนในดินทั่วๆ ไปเหมือนสามธาตุแรก

2.จุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม(micronutrients) จุลธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อย มีอยู่ 7 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) และคลอรีน (Cl) อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารในกลุ่มมหธาตุหรือจุลธาตุ ต่างก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะความจริงแล้วธาตุทุกธาตุมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของพืชเท่าๆ กัน จะต่างกันแต่เพียงปริมาณที่พืชต้องการเท่านั้น ดังนั้นพืชจึงขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้ หากพืชขาดธาตุอาหารแม้แต่เพียงธาตุเดียวพืชจะหยุดการเจริญเติบโต แคระแกร็น ไม่ให้ผลผลิตและตายในที่สุด
มะนาวไม่ได้ต้องการน้ำอิทธิฤทธิ์ ไม่ได้ต้องการ น้ำวิเศษแต่ต้องการความเข้าใจของเจ้าของต้นมะนาวเองว่าการแสดงลักษณะของใบในรูปแบบต่างๆเขาต้องการธาตุอะรัยเป็นพิเศษ ก่อนตัดสินใจซื้อปุ๋ยจะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าปุ๋ยที่เราเลือกซื้อนั้นมีธาตุอาหารอะรัยบ้าง ภาพประกอบเป็นธาตุอาหารเสริมของคนบางกลุ่มครับไม่จำเป็นมากแต่ก้อขาดไม่ได้เหมือนกัน ไม่เกี่ยวกับข้อความข้างบนแต่อย่างใด

 

 

สวนสุระจินดา ได้ทำการปลูกโดยใช้ปุ๋ยหมักสูตรต่างๆ ในเมืองไทย แต่ก็ได้ผลไม่เท่ากับ ปุ๋ยที่เราได้ใช้

คือเราเรียกว่าปุ๋ย เร่งการเจริญเติบโต

ปุ๋ยนี้จะมีธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง รวมถึงอาหารเสริมต่างๆ ครบถ้วน

โดยที่ทางสวนสุระจินดา ขายสูตร แต่จะไม่ขาย ปุ๋ยเร่งเจริญการเติบโต ให้ทุกท่านไปผลิต ใช้เองครับ

ผมบอกได้เรย ว่าคุ้มค่ามากๆ เอาไปใช้ได้ตลอดชีพ และยังช่วยลด ค่าใช้จ่ายใน การใช้ปุ๋ยทางใบเป็นอย่างดี

 

ทางสวนเราขายสูตร เพียง  800 บาท ท่านนำไปผลิตได้ ใช้ในการลดต้นทุน เป็นหมื่นบาท

 

สรรพคุณ

1. เร่งการเจริญเติบโตของพืช

2. ช่วยเสริมสร้างและป้องกันดอกมะนาวร่วง

3. ช่วยขยายผลมะนาว หรือ พืชอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

4. เหมาะสำหรับ พืช ตระกูลส้ม

5. เป็นสูตรที่ผลิตง่าย ลดต้นทุนได้ สูงมากๆ

 

ปุ๋ยสูตรโยกหน้า โยกหลัง ของ ดร.รวี กับมะนาวนอกฤดู

 
“ปุ๋ยสูตรโยกหน้า” เช่น ปุ๋ยสำเร็จรูปสูตร 21-7-14 ก็ใช้ได้ ปุ๋ยสูตรโยกหน้าจะช่วยเพิ่มความแกร่งให้กับเนื้อไม้ ป้องกันการฉีก หัก ของกิ่ง-ต้นได้ การให้ปุ๋ยไม่ควรทิ้งระยะเกิน 1 เดือน/ครั้ง หากกรณีของสภาพดินที่เป็นดินทรายไม่ควรเกิน 15 วัน/ครั้ง หรืออาจใช้หลักการให้ปุ๋ยแบบ “ให้ทีละน้อย แต่ให้บ่อยๆ” ก็ได้ ขณะที่ “การจัดการศัตรูพืช” แนะนำให้ใช้ ระบบ 1-4-7 โดยเริ่มไปตั้งแต่ช่วงที่พืชมีการผลิ “ใบอ่อน” หรือ “ดอกอ่อน” หรือ “ผลอ่อน” ออกมาได้ขนาดประมาณ 2-3 มม. จังหวะนี้เองที่ ศัตรูพืชอาทิ “เพลี้ยไฟ” จะเริ่มเข้าทำลายรวมทั้ง “หนอนชอนใบ” ก็จะเข้ามาวางไข่ด้วย ให้นับเป็นวันที่ 1 ในการฉีดพ่นยาเพื่อป้องกันกำจัด เช่น อะบาเมกติน แล้วก็เว้นวันที่ 2 วันที่ 3 ไปวันที่ 4 ฉีดซ้ำอีกโดยใช้ยาตัวเดิม จากนั้นก็เว้นวันที่ 5 วันที่ 6 ไปวันที่ 7 ฉีดอีกโดยใช้ เมทามิโดฟอส, อะฟีโนฟอส, คลอไพรีฟอสตัวใดตัวหนึ่ง หรือใช้เมทาฯบวกกับไซเปอร์เมทริน เป็นการป้องกันหนอนชอนใบ เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล ซึ่งโรคแคงเกอร์จะเข้าทางบดแผลเท่านั้น ก็จะตัดวงจรของแมลงศัตรูพืชได้พอดี แต่หลังจากนี้ไปแล้วหากพบการระบาดอีกก็ฉีดพ่นยาเพื่อการกำจัดเป็นกรณีๆ ไป หรืออีกวิธีหนึ่งอย่าง

 
     รศ.ดร. รวี กล่าวว่า หลังจากมีการดูแลต้นมะนาวดังที่กล่าวมาแล้ว อายุต้น 6 เดือน และมีขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ก็สามารถที่จะเริ่มขั้นตอนการบังคับนอกฤดูเพื่อให้มีผลผลิตได้แล้ว ก็คือประมาณเดือนกรกฎา-สิงหาเริ่มทำการตัดปลายยอด จากนั้นเพื่อกระตุ้นให้สร้าง “ใบอ่อน” ขึ้นมาจะให้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงหรือ “สูตรโยกหน้า” เรื่อยไปจนถึงคลี่ใบสุด (ประมาณ 22-30 วัน) โดยในระหว่างนี้เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ขึ้นมาซ้ำซ้อน เพราะมะนาวที่จะบังคับให้ออกดอก-ติดผลได้ต้องมีอายุใบหรือยอดเกิน 90 วันเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะต้องพยายามรักษาใบอ่อนชุดแรกให้มีอายุถึง 90 วันให้ได้ ดังนั้นจึงมีการนำสาร “พาโคลบิวทราโซล” เข้ามาช่วยลดการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง, ใบ และยังเปิดโอกาสให้มีการออก “ดอก” เพิ่มมากขึ้น อัตราที่ใช้ 400 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นให้ชุ่มทั่วทั้งต้นหลังจากตัดยอดได้ 15 วัน นับเป็นการใช้สารครั้งที่ 1 แล้วใบอ่อนชุดแรกมีอายุเลย 30 วันไปแล้วจึงเปลี่ยนสูตรปุ๋ยที่ให้เป็นตัวท้าย (K) สูง หรือ “สูตรโยกหลัง” ซึ่งสัดส่วนที่ให้ก็คือ 1 :1 : 3 หรือ 2 :1 : 3 หรือ 3 : 1 : 4 เช่น สูตร 15-5-20 เพื่อช่วยบำรุงให้ออกดอก ในระหว่างนี้พอครบ 60 วันหลังจากที่ตัดยอดก็จะทำการพ่นสารซ้ำอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2 อาจร่วมกับการงดน้ำด้วย ในกรณีโครงสร้างดินมีลักษณะเป็นทรายจะทำให้การบังคับด้วยการอดน้ำได้ผลดียิ่งขึ้น และจากการที่ปลูกระยะชิดซึ่งมีการควบคุมทรงพุ่มทำให้พุ่มต้นไม่ใหญ่มากตอบสนองต่อการชักนำให้ออกดอกได้ดีกว่าพุ่มต้นที่มีขนาดใหญ่ จากนั้นพอเลย 90 วันไปแล้ว (ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด) มะนาวจะเริ่มติดดอก-ออกผลต่อไป ต้องมีการดูแลให้น้ำ-ให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอและคอยควบคุมศัตรูพืชอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหลังดอกโรยหรืออายุผลมะนาวในช่วง 2 เดือนแรก จะมีความอ่อนแอต่อ “เพลี้ยไฟ” และ “แคงเกอร์” แต่ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา นอกจากนี้ช่วงมะนาวขยายลูกต้องดูแลเรื่องการให้น้ำอย่างเพียงพอ และสูตรปุ๋ยที่ให้ในช่วงนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นสูตร “โยกหน้า” ไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งหากเริ่มทำการบังคับตามรอบที่กล่าวมาจะทำให้มีมะนาวออกมาทันขายในช่วงกุมภา-มีนา-เมษา ได้พอดี


           อย่างไรก็ตาม รศ.ดร. รวี ยังได้กล่าวถึงสาเหตุของการทำมะนาวนอกฤดูแล้วไม่ประสบผลสำเร็จด้วยว่า เป็นเพราะส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจธรรมชาติของต้นมะนาวอย่างดีพอ อาทิ มะนาวจะไม่มีการออกดอกในกิ่งที่มีการติดผลอยู่ ดังนั้นการที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้องกำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออกทิ้งไปเสียก่อน หรือ หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งแล้ว ยอดหรือกิ่งมะนาวที่จะสร้างตาดอกได้ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วันขึ้นไป เป็นต้น โดยนอกจากนี้แล้วการจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต้องผสานร่วมกัน เช่น การจัดการน้ำ (การงดน้ำ), การใช้สารกลุ่มชะลอการเจริญเติบโตพืช (สารพาโคลบิวทราโซล), การปฏิบัติการจัดการทรงพุ่ม (พุ่มต้นที่เล็กกว่าสามารถชักนำการออกดอกเพื่อการผลิตนอกฤดูได้ดีกว่า), โครงสร้างดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายมีการระบายน้ำที่ดีจะมีผลทำให้การชักนำการออกดอกได้ดีกว่า และการจัดการเรื่องปุ๋ยที่มีสัดส่วนของ N-P-K เหมาะสมกับการเจริญเติบโตพืชในแต่ละช่วง โอกาสของความสัมฤทธิ์ผลในการบังคับนอกฤดูย่อมสูงตามไปด้วย

สต็อค ของพวกนี้ สำหรับสวนมะนาว

  1. ปุ๋ย 15-15-15 เอาไว้ให้ NPK แก่พืช  เน้น P
  2. ยูเรีย เอาไว้ให้ N แก่พืช
  3. ปุ๋ย 0-0-60 เอาไว้ให้ K แก่พืช
  4. ปูนขาว หรือ โดโลไมท์ ลดความเป็นกรดของดิน
  5. ปุ๋ยทางใบ โยกหน้า เขียว ตรานกเหงือก เร่งการเติบโตกิ่งใบมะนาว
  6. ปุ๋ยทางใบ 0-52-34 กดไม่ให้ ยอดอ่อนแตก เมื่อโดนฝน หลังอดน้ำ
  7. ปุ๋ยทางใบ โพแทสเซ๊ยมไนเตรท (13-0-46) กระตุ้นการแตกยอด
  8. ปุ๋ยทางละลายช้า ออสโม้ 12-25-6 เอาไว้ให้ NPK แก่พืช  เน้น P เสริมธาตุอาหารรอง
  9. ปุ๋ยทางใบ Super K ของโซตัส เอาไว้ให้ NPK แก่พืช  เน้น K + P สริมธาตุอาหารรอง
  10. ปุ๋ยคอกเก่า หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่ม อินทรีย์ วัตถุในดิน 
  11. ผงเชื้อแบคทีเรีย BS กำจัด ป้องกันโรคแคงเกอร์ เชื้อรา 
  12. ผงเชื้อแบคทีเรีย BT กำจัด หนอน 
  13. หัวเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ กำจัดแมลง เพลี้ย
  14. สตาร์เกิ้ล  กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  15.  สตาร์เกิ้ลจี กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  16. โปรวาโด้ กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  17. ปิโตเลี่ยม ออยล์ กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  18. ไซเปอร์เมตริน 35% กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  19. ผงกำมะถัน กำจัด ไรแดง 
  20. ยาแมทาแล็กซิล กำจัด ป้องกันโรคจาก เชื้อรา 
  21. จิบทรี ยับยั้งการออกดอก และ  ทำให้ผลสุกช้า 
  22. แพคโคบิวทาโซล ยับยั้งการแตกใบอ่อน ใช้บังคับมะนาวนอกฤดู
  23. น้ำยาล้างจาน ช่วยเป็น สารจับใบ
  24. NAA กำจัดดอกผล  หรือ ทำให้ดอกผลไม่ร่วง
  25. IBA เร่งราก  เวลาตอน หรือ ชำ 

ตระกร้าสินค้า

 x 

ไม่มีสินค้าในตระกร้า