ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยธาตุทั้งหมด 16 ธาตุ ในจำนวนธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตนั้น มี 3 ธาตุ ที่พืชได้มาจากอากาศและน้ำ คือ คาร์บอน ( C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ส่วนอีก 13 ธาตุนั้น พืชต้องดูดดึงขึ้นมาจากดิน ซึ่งธาตุเหล่านี้ได้มาจากการผุพงสลายตัวของส่วนที่เป็นอนินทรียวัตถุและอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสในดิน สามารถแบ่งตามปริมาณที่พืชต้องการใช้ได้ เป็น 2 กลุ่มคือ มหธาตุ และจุลธาตุ

1.มหธาตุ(macronutrients) มหธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ที่ได้มาจากดินมีอยู่ 6 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

ธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เนื่องจากสามธาตุนี้พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก แต่มักจะได้รับจากดินไม่ค่อยเพียงพอกับความต้องการ ต้องช่วยเหลือโดยใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg)และกำมะถัน(S)เป็นกลุ่มที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าและไม่ค่อยมีปัญหาขาดแคลนในดินทั่วๆ ไปเหมือนสามธาตุแรก

2.จุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม(micronutrients) จุลธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อย มีอยู่ 7 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) และคลอรีน (Cl) อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารในกลุ่มมหธาตุหรือจุลธาตุ ต่างก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะความจริงแล้วธาตุทุกธาตุมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของพืชเท่าๆ กัน จะต่างกันแต่เพียงปริมาณที่พืชต้องการเท่านั้น ดังนั้นพืชจึงขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้ หากพืชขาดธาตุอาหารแม้แต่เพียงธาตุเดียวพืชจะหยุดการเจริญเติบโต แคระแกร็น ไม่ให้ผลผลิตและตายในที่สุด
มะนาวไม่ได้ต้องการน้ำอิทธิฤทธิ์ ไม่ได้ต้องการ น้ำวิเศษแต่ต้องการความเข้าใจของเจ้าของต้นมะนาวเองว่าการแสดงลักษณะของใบในรูปแบบต่างๆเขาต้องการธาตุอะรัยเป็นพิเศษ ก่อนตัดสินใจซื้อปุ๋ยจะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าปุ๋ยที่เราเลือกซื้อนั้นมีธาตุอาหารอะรัยบ้าง ภาพประกอบเป็นธาตุอาหารเสริมของคนบางกลุ่มครับไม่จำเป็นมากแต่ก้อขาดไม่ได้เหมือนกัน ไม่เกี่ยวกับข้อความข้างบนแต่อย่างใด

 

โรคแคงเกอร์มักจะเกิดกับพืชตระกูลส้มเช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวานหรือกระทั่งมะนาว เกิดจากเชื้อแบคที
เรีย #Xanthomonas axnopodis pv.citri ลักษณะของโรคจะเป็นแผลกลมนูนเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนเช่นใบลำต้นทำให้ต้นแคระแกรนและตายในที่สุดหรือกระทั่งผลทำให้ขายไม่ได้ราคา

#การป้องกันและดูแลรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดที่สามารถยับยั้งหรือกำจัด แคงเกอร์ได้100% แนวทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค หนอนชอนใบก้อเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แคงเกอร์เข้าทำลายพืชได้ง่าย เนื่องจากใบถูกทำลายปากแผลจะเปิด เพราะฉะนั้นการรักษายอดอ่อนจากหนอนชอนใบเพลี้ยไฟ ไรแดงจึงเป็นเรื่องสำคัญ ตลอดจนการจัดเขตกรรม การตัดแต่งทรงพุ่มเพื่อให้แสงแดดส่องถึงทั่วลำต้น ก้อช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคลงได้

#สำหรับแนวทางการป้องกันของทางสวนคือ
ใช้สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์(ฟังกูราน)ในอัตรา15-20กรัม/น้ำ20ลิตร ฉีดพ่น7-10วันต่อครั้งโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนแคงเกอร์จะระบาดหนักในช่วงนี้และการตัดแต่งทรงพุ่ม ให้โปร่งแสงส่องถึง หรืออาจจะป้องกันด้วยสารชนิดอื่นเช่น นาโนซิงค์ออกไซด์ แบล๊คคิลเลอร์หรือสเตปโตมัยซิน(ยาปฏิชีวนะ)การใช้สารเคมีควรศึกษาการใช้ตลอดจนการป้องกัน
ตัวเองจากสารเคมีด้วยนะคับ หากเป็นที่ใบหรือกิ่งเด็ดใบและตัดแต่งกิ่งที่เป็นออกนำไปเผาไฟเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วรักษายอดอ่อนที่แตกใหม่ ตามสูตร1-4-7 ถ้าเป็นที่ลำต้นมีผู้แนะนำมาว่าขูดรอยนูนออกแล้วผสมฟังกูรานกับน้ำพอเปียกทาบริเวณแผลที่ขูด
หากเป็นหนักถอนทิ้งเผาทำลายดีกว่านะคับเพราะปลูกไปก้อเเคระแกรน เปลืองปุ๋ยยา

 

 

 

 

การจัดการโรคแคงเกอร์ มะนาว

 
โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis จะเข้าทำลาย ใบมะนาว กิ่ง และผลมะนาว โดยที่ใบจะมีจุดสีเหลืองเกิดขึ้น และอาจมีจุดสีแดง หรือ น้ำตาลอยู่ด้วย ตามภาพ


ในผลมะนาวที่เป็น แคงเกอร์ (canker) ก็จะมีจุดสีเหลือง ขึ้นเช่นกัน และทำให้มะนาวราคาตกต่ำไม่เป็นที่ต้องการของแม่ค้าในตลาด ตามภาพ

 
 
การป้องกันโรคแคงเกอร์เริ่มจาก
1 คัดเลือกกิ่งพันธุ์ดี ปลอดโรคแคงเกอร์
2 แช่น้ำยา streptomycin  + oxytetracycline นาน 90 นาที ในกิ่งพันธุ์ก่อนปลูก
3 ปลูกไม้ไผ่เป็นแนวกันลม ในสวนมะนาว
4 ป้องกันหนอนชอนใบโดยใช้ ไดโนทีฟูแรน(dinotefuran)
5 ใช้  White oil เมื่อมีการระบาด
6 ใช้แบคทีเรีย บาซิลลัสสูตร พลายแก้ว  ฉีดพ่น ทุก 30 วัน
7 ใช้ zinc  oxide nano พ่นเมื่อ แคงเกอร์ระบาด และพ่นต่อทุก 15-30 วัน
 
 
 
 
หนอนชอนใบ จะทำให้โรคแคงเกอร์ระบาดมากขึ้น
 
เมื่อเกิดการระบาดของโรคแคงเกอร์
1 ตัด กิ่งใบที่ติดโรค มาเผาทำลาย
2 ฉีดพ่นด้วย zinc oxide nano   2 รอบ ห่างกัน 10 วัน
3 ตามด้วยการพ่น บาซิลลัสสูตร 3 อีกสองรอบ
 

White oil  ทำจากปิโตเลี่ยมจึงค่อนข้างปลอดภัย ใช้กำจัดหนอนชอนใบ และเพลี๊ยะไก่แจ้
ได้แก่ สารยี่ห้อ เอสเค 99 ของโซตัส http://www.sotus.co.th/index.php?p=438&hl=th




ไดโนทีฟูแรน(dinotefuran)  ยี่ห้อ สตาร์เกิล (Starkle) ความเป็นพิษต่ำมาก ต่อมนุษย์ และ ใช้กำจัดหนอนชอนใบ เพลี๊ยะไก่แจ้ และเพลี๊ยะไฟ  ได้ดี ออกฤทธิ์นาน 14 วัน 
 
 

 

 

สวนสุระจินดา เกิดจากแนวคิดผสมผสาน งานทางด้านเกษตร ผสม อุตสาหกรรม

คือเพื่อนในกลุ่มได้ทำงานในสวนเกษตรอุตสาหกรรม และบางส่วนจบทางด้าน

สาขาเกษตร บางส่วน มีประสบการณ์ ที่ผ่านมา เรียกได้ว่า ทำสวนผลไม้ ที่มีเนื้อที่

3,000 กว่าไร่ ในรูปแบบอุตสาหกรรม ปัจจุบันก็ทำงานอยู่ในด้านนี้

เริ่มจากการที่เพื่อนในกลุ่มเรา ได้ปลูกส้มและ มะนาวอยู่ในรูปแบบที่ดี เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

มาผสมผสาน กับสายพันธุ์ มะนาวตามท้องตลาดทำให้ สวนเราคิดว่าจะนำประสบการณ์มา

เลาสู่กันฟัง ในแนวทางตามกลุ่มเรา  เราเรียกกลุ่มเราว่า กลุ่มแนวผสมผสานงาน เกษตร

ที่สวนเราดั้งเดิมปลูกลงดิน และ ลงท่อวงบ่อ แต่สวนมากจะปลูกลงดิน

กลุ่มเราได้ทำงานร่วมกับทาง อาจาร์ย มหาวิทยาลัย ทางด้านเกษตร หลายๆท่าน ในเมืองไทย

และได้เดินทางไปเยี่ยมชม ยังต่างประเทศที่มีลักษณะ อากาศคล้ายเมืองไทย

ทางกลุ่มเรา ได้ศึกษาการปลูกมะนาว ตามกูรูเมืองไทย หลายๆ ท่าน ตามแนวทางของเรา

ตามที่ผมเสนอในหัวข้อ ความรู้เรื่องมะนาว เราก็ได้นำมาปรับใช้ในระบบ เกษตร แบบชาวบ้าน

เพื่อลดต้นทุน ในเกษตร แบบที่ควรเป็นไป ตามท้องถิ่น

 

สวนสุระจินดา ได้ปลูกทั้งแบบอินทรีย์และ ปลูกแบบเคมี จึงนำข้อดีและ ข้อเสียของแต่ละ อย่าง

มาผสมให้เข้ากันแบบ เฉพาะเรา

 

สวนสุระจินดา ได้เรียนรู้การปลูกตามแนวทาง ตามท่านอาจารย์ ที่มีชื่อเสียง ในด้านมะนาว ดังนี้

ดร.รวี เสรฐภักดี อ.ทอง ธรรมดา คุณชาย ท่ายาง คุณวโรชา จันทโชติ

 

 



 

 

 

สูตร1-4-7คือสูตรการรักษายอดอ่อนอันทรง ประสิทธิภาพคิดค้นขึ้นโดย รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี เกจิไม้ผลชื่อดังของเมืองไทย แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน" หลายครั้งที่มีผู้นำสูตรนี้ไปใช้แล้วไม่ได้ผลแม้จะมีกรรมวิธีการใช้สารเคมีและการฉีดพ่นตามวงรอบที่ถูกต้องแล้วก้อตามแต่ยอดอ่อนก้อยังถูกโรคและแมลงเข้าทำลาย จึงเป็นเหตุให้พาลคิดว่าใช้สูตรนี้ไม่ได้ผลซึ่งแท้จริงแล้วจุดสำคัญที่สุดจะอยู่ที่

#การนับวันแรกที่จะเริ่มใช้สูตร1-4-7
กล่าวคือ วันที่ 1 ของการใช้สูตร 1-4-7 จะเริ่มตั้งแต่

#ยอดอ่อนผลิออกมาใหม่ประมาณเขี้ยวกรแต
(3-5มม.)ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้จะมีทั้งโรคและแมลง เข้ามาวางไข่และทำลายยอดอ่อน ส่วนการใช้สูตร 1-4-7 ของสวนมะนาวสุระจินดาก็ได้ยึดถือแนวทางและปฏิบัติดังนี้

#ครั้งที่1 หลังจากมะนาวผลิยอดอ่อนเท่าเขี้ยว
กระแต(3-5มม.) เริ่มนับเป็นวันที่ 1 ฉีดพ่น(จับใบ+(อิมิดาครอพริด,กำมะถันทอง) )

#ครั้งที่2 หลังจากฉีดพ่นครั้งที่ 1 ให้เว้นสองวัน
แล้วเริ่มฉีดพ่นในวันที่ 4 (จับใบ+(อบาเม็กติน,ไซเปอร์เมทริน) )

#ครั้งที่3 หลังจากฉีดพ่นครั้งที่ 2 ให้เว้นสองวัน
แล้วเริ่มฉีดพ่นในวันที่ 7
(จับใบ+ฟังกูราน+(คาร์โบซัลแฟน,โอไมท์) )

#ข้อควรระวัง ห้ามพ่นสารเคมีขณะเเดดจัดหรือผสม
สารเข้มข้นจนเกินไป การใช้สารเคมีจะสลับปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ไม่ได้ตายตัวว่าต้องใช้ตามนี้นะครับ เพียงเท่านี้ยอดอ่อนก็จะผลิออกสวยงาม ไม่มีปัญหา
หนอนชอนใบหรือใบบิดม้วนอันเนื่องมาจากเพลี้ยไฟหรือไรแดงแน่นอนครับ

 

 

สวนสุระจินดา ได้ทำการปลูกโดยใช้ปุ๋ยหมักสูตรต่างๆ ในเมืองไทย แต่ก็ได้ผลไม่เท่ากับ ปุ๋ยที่เราได้ใช้

คือเราเรียกว่าปุ๋ย เร่งการเจริญเติบโต

ปุ๋ยนี้จะมีธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง รวมถึงอาหารเสริมต่างๆ ครบถ้วน

โดยที่ทางสวนสุระจินดา ขายสูตร แต่จะไม่ขาย ปุ๋ยเร่งเจริญการเติบโต ให้ทุกท่านไปผลิต ใช้เองครับ

ผมบอกได้เรย ว่าคุ้มค่ามากๆ เอาไปใช้ได้ตลอดชีพ และยังช่วยลด ค่าใช้จ่ายใน การใช้ปุ๋ยทางใบเป็นอย่างดี

 

ทางสวนเราขายสูตร เพียง  800 บาท ท่านนำไปผลิตได้ ใช้ในการลดต้นทุน เป็นหมื่นบาท

 

สรรพคุณ

1. เร่งการเจริญเติบโตของพืช

2. ช่วยเสริมสร้างและป้องกันดอกมะนาวร่วง

3. ช่วยขยายผลมะนาว หรือ พืชอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

4. เหมาะสำหรับ พืช ตระกูลส้ม

5. เป็นสูตรที่ผลิตง่าย ลดต้นทุนได้ สูงมากๆ

 

ตระกร้าสินค้า

 x 

ไม่มีสินค้าในตระกร้า